Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

พี่ ๆ เกษตรกรท่านไหนที่ใช้งานเครื่องยนต์คูโบต้าอยู่ในช่วงนี้ แล้วเริ่มรู้สึกว่าอัตราเร่งเครื่องยนต์ไม่ตอบสนองเหมือนเดิม มีเสียงดังแปลก ๆ ตรงบริเวณฝาครอบวาล์ว ไม่ต้องกังวลไปนะครับ อาจจะถึงเวลาบำรุงรักษาตัววาล์วไอดีและวาล์วไอเสียกันแล้ว วันนี้น้องคูโบแมนมีวิธีการดูแลรักษาเครื่องยนต์ การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย มาฝาก จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลยครับ

 

วาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย คืออะไร 

วาล์วไอดี คือ วาล์วที่กดเปิดช่องรับอากาศจากภายนอกมาเพื่อเข้าสู่กระบวนการติดของเครื่องยนต์ 

วาล์วไอเสีย คือ วาล์วที่เปิดและปล่อยไอเสียที่จุดระเบิดคลายออกทางท่อไอเสีย

โดยตำแหน่งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย อยู่ที่บริเวณฝาสูบเครื่องยนต์

 

ทำไมจึงต้องปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

หากไม่ปรับตั้งวาล์วให้อยู่ในค่าที่กำหนด จะทำให้กำลังเครื่องยนต์ในการดูดอากาศวาล์วไอดีน้อยลง และการปล่อยไอเสียของวาล์วไอเสียจากการจุดระเบิดก็น้อยลงเช่นกัน (คือตำแหน่งการกดของสปริงที่วาล์วน้อย) จะทำให้มีเสียงดัง ถ้าปล่อยไว้ไม่ได้รับการปรับตั้งจะทำให้การทำงานอัตราการเร่งไม่ดี

 

วิธีการปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย

การปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสีย ควรปรับตั้งระยะห่างทุก ๆ 100 ชั่วโมงของการทำงาน ตามค่ามาตราฐานในการปรับตั้งวาล์วจะอยู่ที่ 0.02 มิลลิเมตร โดยใช้ฟิลเลอร์เกจเป็นตัววัด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาอัตราการเร่งไม่ตอบสนองเหมือนเดิม และเสียงดังจากฝาครอบวาล์ว โดยมีวิธีการปรับตั้งดังต่อไปนี้

 

  1. หมุนเครื่องยนต์ให้อยู่ในตำแหน่งอัดสุด โดยตรวจเช็กสัญลักษณ์ T บนล้อช่วยแรง
  2. เปิดฝาครอบวาล์ว โดยใช้ประแจเบอร์ 10 คลายน็อตยึดฝาครอบ 3 ตัว (ระวังประเก็นที่ฝาครอบวาล์วขาด)
  3. ปรับตั้งวาล์ว โดยการคลายน็อตด้วยประแจเบอร์ 12 และไขควงปาแบน
  4. ใช้ฟิลเลอร์เกจขนาด 0.20 มม. วัดระยะห่างของหมวกวาล์วกับกระเดื่องวาล์ว​ ทั้งวาล์ว​ไอดีและวาล์วไอเสีย ให้พอดี
  5. ล็อกน็อตที่ปรับตั้ง โดยใช้ไขควงล็อกตำแหน่งที่หัวสกรูไม่ให้ขยับ พร้อมล็อกน็อตเบอร์ 12 ให้แน่น
  6. ปิดฝาครอบวาล์ว และขันน็อตเบอร์ 10 ทั้ง 3 ตัวกลับคืนให้แน่น

 

วิธีการปรับตั้งวาล์วไอดี และวาล์วไอเสียก็มีเพียงเท่านี้ เครื่องยนต์ของพี่ ๆ ก็พร้อมที่จะลุยงานต่อเนื่องไปกับพี่ ๆ ได้ทุกที่แล้ว หากพี่ ๆ ท่านใดต้องการรู้เทคนิคการดูแลรักษาเครื่องยนต์หัวข้ออื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถศึกษาได้ที่ฟังก์ชันในแอปพลิเคชัน Kubota Smart >> เลือก “การดูแลสินค้า” >> เลือก “เครื่องยนต์&รถไถ” และดูหัวข้อที่สนใจอื่น ๆ ได้เลยครับ

Related article