Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

ข้าวไวแสง คือข้าวที่ตั้งท้องและออกดอกในช่วงเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน โดยต้องได้รับชั่วโมงแสงน้อยกว่า 12  ชั่วโมง จึงจะตั้งท้องและออกดอก  ตรงกับช่วงกลางเดือนกันยายนของประเทศไทย เป็นต้นไป ซึ่งนิยมเพาะปลูกในช่วงนาปี ประมาณเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม และเก็บเกี่ยวในเดือน ตุลาคม-ธันวาคม โดยพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ข้าวเหนียว กข 6, ข้าว กข 15, ข้าวเหนียวสันป่าตอง และข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นต้น 

คุณสมบัติของข้าวไวแสงจะเห็นได้ว่า ความยาวของช่วงวัน (แสงแดด) มีผลต่อการเจริญเติบโตในทุกช่วงอายุต้นข้าว (ในกรณีของข้าวไม่ไวแสง KAS ได้มีการศึกษา พบว่าอุณหภูมิสะสมของข้าว มีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโต) โดยในช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน อยู่ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม – 23 กันยายน ดังนั้น การปลูกข้าวไวแสงในช่วงนี้สามารถปลูกแล้วข้าวเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตาม เวลาที่เหมาะสมในการเริ่มดำนาสำหรับข้าวไวแสง คือสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม (ปลูกวันแม่)

แต่ส่วนใหญ่ชาวนาในภาคอีสาน มักจะหว่านข้าวรอน้ำฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งปัญหาที่ตามมาของการปลูกข้าวเร็วมีดังนี้

ข้าวเจริญเติบโตทางลำต้นเร็วเกินไป ทำให้ต้นข้าวสูงและมีปัญหาข้าวล้มตามมา หรืออาจจะมีปัญหาจากฝนที่มาล่าช้าทำให้การงอกของข้าวได้น้อย หรือเมื่องอกแล้วไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอในช่วงเดือนแรก ข้าวต้องการน้ำเพื่อการสร้างใบ และการแตกกอ หลังจากแตกกอสมบูรณ์ ประมาณ 1 เดือน สามารถปล่อยน้ำและทำเปียกสลับแห้งไปจนถึงประมาณ 20 วัน ก่อนข้าวตั้งท้องก็จะใส่ปุ๋ยเพื่อสร้างดอกและรวง 

ตามที่กล่าวข้างต้น ข้าวไวแสงก็จะเริ่มตั้งท้องออกรวง ในช่วงที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน หรือหลังวันที่ 23 กันยายนไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม เป็นช่วงสำคัญที่สุดที่ข้าวต้องการน้ำ และใส่ปุ๋ย (เคล็ดลับ คือต้องใส่ปุ๋ยตรงเวลาก่อนที่ข้าวจะออกดอก สำคัญกว่าการให้ปุ๋ยมากหรือน้อย)

และปริมาณการให้น้ำในช่วงนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ข้าวต้องการน้ำเพื่อใช้ในการผสมเกสร สร้างรวง และสะสมน้ำหนักเมล็ด เมื่อข้าวออกรวงเต็มที่แล้ว (ประมาณปลายเดือนตุลาคม ถึงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน) เข้าสู่ช่วงสุกงอมของข้าว จะต้องปล่อยให้น้ำแห้ง และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้หลังสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป (ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวไวแสงและอุณหภูมิในพื้นที่เพาะปลูก) เราจะพบว่าโดยปกติข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะมีการเริ่มเก็บเกี่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงนั้นสูงกว่าที่อื่น 

โดยสรุป จะเห็นว่าปริมาณน้ำจำเป็นอย่างมากในการปลูกข้าว โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม ที่เป็นช่วงเริ่มดำนา และช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน เพื่อการแตกกอของข้าว และช่วงปลายเดือนกันยายน ตั้งแต่ 23 กันยายน ถึงปลายตุลาคม สามารถทำเปียกสลับ-แห้งได้ เพื่อให้ข้าวสร้างดอกรวงและน้ำหนักเมล็ด และประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ข้าวไม่ต้องการน้ำแล้ว เนื่องจากใกล้เข้าเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งถือว่าเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนั่นเอง