Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

เกียร์ซินโครชัทเทิล และเกียร์ไฮดรอลิกชัทเทิล แตกต่างกันอย่างไร

เกียร์ซินโครชัทเทิล และเกียร์ไฮดรอลิกชัทเทิล แตกต่างกันอย่างไร

เกียร์ซินโครชัทเทิล และเกียร์ไฮดรอลิกชัทเทิล แตกต่างกันอย่างไร

หลาย ๆ ท่านที่เคยใช้งานแทรกเตอร์คูโบต้า อาจจะเคยสับสนกับการใช้งานเกียร์เดินหน้าและถอยหลังของแทรกเตอร์ บางรุ่นต้องเหยียบคลัตช์ บางรุ่นไม่ต้องเหยียบคลัตช์ในการเปลี่ยนเกียร์ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ข้อดีข้อเสียในแต่ละแบบมีอะไรบ้าง วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันครับ 

 

มาดูที่รายละเอียดการทำงานของเกียร์แต่ละแบบกันเลยครับ แบบแรกคือเกียร์เดินหน้าถอยหลังแบบซินโครชัทเทิล

 

การทำงานและการใช้งานของเกียร์ซินโครชัทเทิล

เกียร์เดินหน้าถอยหลังในรูปแบบนี้ จะมีชุดทองเหลืองเป็นตัวชะลอรอบ และใช้ปลอกเป็นตัวตัดต่อกำลัง ในการใช้งานผู้ขับจะต้องเหยียบคลัตช์ให้สุด แต่ไม่จำเป็นต้องหยุดรถสนิทครับ 

ข้อดีของเกียร์ซินโครชัทเทิล คือ มีชิ้นส่วนน้อยกว่า บำรุงรักษาง่าย ซ่อมง่าย มีราคาถูกกว่า นิยมใช้ในแทรกเตอร์ที่มีแรงม้าขนาดกลาง 

มีข้อเสีย คือ หากใช้งานนานอาจจะทำให้เมื่อยล้าในการเหยียบคลัตช์เพื่อเปลี่ยนเกียร์ ซึ่งเกียร์ระบบนี้ก็จะถูกติดตั้งกับแทรกเตอร์คูโบต้า L-series ยอดนิยมของคูโบต้านั่นเองครับ

 

การทำงานและการใช้งานเกียร์ไฮดรอลิกชัทเทิล

เกียร์เดินหน้าถอยหลังอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือ เกียร์ไฮดรอลิกชัทเทิลครับ เกียร์ในรูปแบบนี้ในขณะที่ผู้ขับเข้าเกียร์จะใช้ระบบไฮดรอลิกในการตัดต่อการทำงาน ผู้ขับจึงไม่จำเป็นต้องเหยียบคลัตช์ในระหว่างเปลี่ยนเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง และยังไม่ต้องหยุดรถอีกด้วย จึงทำให้การเปลี่ยนเกียร์ทำได้ลื่นไหล เฟืองเกียร์ก็จะไม่เสียหายในระยะยาว แต่ราคาก็จะสูงกว่าแน่นอนครับ

ข้อดีของเกียร์ไฮดรอลิกชัทเทิล คือ ไม่ต้องเหยียบคลัตช์ ให้ความนิ่มนวลในการเปลี่ยนเกียร์ จึงมีความคล่องตัวสูง ทำงานได้เร็ว จึงช่วยลดความเมื่อยล้าในการใช้งานได้เยอะเลยครับ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เกียร์ประเภทนี้จะใช้ในแทรกเตอร์ที่มีกำลังแรงม้าสูงครับ

ข้อเสียครับ คือ ราคาค่าตัวที่สูงกว่า การซ่อมแซมที่ยากกว่า ราคาค่าซ่อมแซมก็สูงกว่า เพราะมีระบบที่ซับซ้อน เกียร์ในระบบนี้จะถูกติดตั้งอยู่แทรกเตอร์คูโบต้า M-series พี่ใหญ่ของเรานั่นเอง”

 

เกียร์ทั้ง 2 แบบมีความเหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันครับ พี่ ๆ น้อง ๆ สามารถเลือกดูได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน และกำลังทรัพย์ที่เรามีครับ ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรทุกท่านได้อย่างตรงใจที่สุดครับ 

Related article