Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

สายพานหย่อน แก้ยังไง? วิธีปรับความตึงสายพาน
เครื่องยนต์ดีเซล

สายพานหย่อน แก้ยังไง? วิธีปรับความตึงสายพาน <BR> เครื่องยนต์ดีเซล

สายพานหย่อน แก้ยังไง? วิธีปรับความตึงสายพาน
เครื่องยนต์ดีเซล

สายพานหย่อน อย่ามองข้าม! ปัญหาที่เล็กน้อยแต่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อเครื่องยนต์ ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานไม่เต็มที่ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งการทำงานและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ดังนั้น KUBOTA จะมาอธิบายถึงปัญหาสายพานหย่อน รวมไปถึงวิธีตรวจเช็กและการแก้ปัญหาให้ถูกต้องเหมาะสม จะทำอย่างไร
ไปดูกันเลย

สายพานหย่อน ข้อเสีย

4 ข้อเสียของสายพานหย่อน มีดังนี้

  1. เครื่องยนต์ร้อนจัด ขณะใช้งาน

สายพานคือชิ้นส่วนที่คอยส่งกำลังงานให้พัดลมระบายความร้อนทำงาน เมื่อสายพานหย่อนลงกำลังงานที่ส่งไปให้พัดลมก็น้อยลง ระบบระบายความร้อน
ของเครื่องยนต์จึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะใช้งาน

  1. มีเสียงดังรบกวน

สายพานหย่อน จะทำให้เกิดเสียงดัง เนื่องมาจากหน้าสัมผัสของตัวสายพานไม่สามารถยึดเกาะกับลูกรอก ทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น เมื่อมีการทำงานของเครื่องยนต์ ทำให้สายพานที่หย่อนเกิดการหมุนฟรีหรือกระพือ ไปกระทบกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ทำให้มีเสียงดังเกิดขึ้น 

  1. สายพานสึกหรอไวขึ้น

สายพานหย่อน จะทำให้เกิดการหมุนฟรีหรือกระพือขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สายพานที่หย่อนไปกระทบกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในตัวเครื่อง เร่งให้เกิดการสึกหรอ
ที่มากกว่าปกติ ทำให้อายุการใช้งานของสายพานลดลงอย่างรวดเร็ว

  1. อาจเกิดอุบัติเหตุขณะใช้งานได้

การใช้เครื่องยนต์ ที่สายพานหย่อนอาจทำให้สายพานเกิดการชำรุดและฉีกขาดอย่างฉับพลัน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติหรือเกิดการชะงัก อาจส่งผล
ให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้งานที่ไม่ทันระมัดระวังตัว

วิธีตรวจเช็กว่าสายพานหย่อนหรือไม่

สายพานหย่อนสามารถตรวจเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ โดยใช้นิ้วกดลงไปตรงกึ่งกลางของสายพาน เพื่อเช็กว่าสายพานหย่อนหรือตึงมากเกินกว่าค่ามาตรฐาน
ที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าสายพานหย่อนหรือตึงมากเกินไปให้ปรับสายพานใหม่ทันที โดยเครื่องยนต์ดีเซล KUBOTA ในแต่ละรุ่นจะมีค่ามาตรฐานความหย่อนตึงดังนี้

  • รุ่น ZT100 ZT110 ZT120 ZT140 ZT155 มีค่ามาตรฐานความตึงหย่อนอยู่ระหว่าง 11-15 มิลลิเมตร
  • รุ่น ZT180 มีค่ามาตรฐานความตึงหย่อนอยู่ระหว่าง 18-22 มิลลิเมตร

ปรับตั้งสายพานหย่อน

สายพานหย่อน สามารถทำตามได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้ หรือเข้าไปศึกษาเพิ่มได้ ที่นี่

  1. เตรียมอุปกรณ์สำหรับปรับตั้งสายพาน ประกอบไปด้วย แว่นตานิรภัย ถุงมือ และประแจ เพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากขึ้น
  2. ให้คลายโบลท์ยึดขาลูกรอกสายพานให้หลวม
  3. หมุนน็อตหางปลา เพื่อปรับตั้งความตึงหย่อนสายพานให้มีค่าตามมาตรฐานที่กำหนด
  4. ขันโบลท์ยึดขาลูกรอกสายพานให้แน่น

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับปัญหา สายพานหย่อน

สายพานเป็นดั่งปัจจัยหลักของเครื่องยนต์ ที่จะคอยส่งกำลังไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในตัวเครื่อง หากสายพานหย่อนจะทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถทำงานได้
เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กและปรับตั้งให้สายพานอยู่ในค่ามาตรฐานทุกครั้ง เพื่อให้ใช้เครื่องยนต์ได้เต็มสมรรถนะ หากสนใจอยากศึกษา
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ดีเซลของ Siam Kubota คลิกเลย

Related article