Sign In Sign In Test drive Test drive Products according to use Products according to use Dealer Dealer Loan Calculator Loan Calculator
Back

Article

การดำนา คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญ
กับชีวิตเกษตกรไทย

การดำนา คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญ <BR> กับชีวิตเกษตกรไทย

การดำนา คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญ
กับชีวิตเกษตกรไทย

การดำนา นับว่าเป็น “วิถีเกษตร” ที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่อดีตกาล เพราะการดำนาไม่เพียงแต่เป็นการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง แต่ยังนับว่าเป็นวัฒนธรรม
และองค์ความรู้ที่สำคัญของเกษตรกรไทยที่ยึดถือส่งต่อกันมาแทบทุกยุค บทความนี้ KUBOTA จะมาอธิบายถึงการดำนา จะมีอะไรที่ต้องรู้บ้าง มาดูกันเลย

การดำนา คืออะไร

การทำนาดำ คือการเพาะเมล็ดข้าวในแปลง (หรือบริเวณเพาะปลูกอื่น ๆ) ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วนำไปปลูกในแปลงนาที่ได้ไถคราดเอาไว้ พร้อมดูแลรักษาให้เหมาะสม
จนงอกและกลายเป็นต้นข้าวพร้อมเก็บเกี่ยว การดำนา สามารถทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือการดำนาแบบใช้แรงงานคนซึ่งต้องใช้แรงงานเกษตรกรในการดำเนินงานค่อนข้างมาก และการดำนาแบบใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ที่จะช่วยลดระยะเวลาการทำงาน และประหยัดแรงได้มากกว่าแบบใช้แรงงานคน

การดำนา

ภาพจาก kasetkaoklai

การดำนา มีประโยชน์อย่างไร

การดำนามีประโยชน์หลัก ๆ 3 ข้อดังต่อไปนี้

1. ลดปริมาณวัชพืช

การดำนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืช หรือข้าวดีดข้าวเด้ง ได้มากกว่าวิธีอื่น เช่น การหว่าน เพราะจะใช้กล้าของต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตแล้วนำไปปลูก
ในแปลงนา ทำให้วัชพืชเติบโตไม่ทันต้นข้าว รวมถึงสามารถคัดแยก และกำจัดข้าววัชพืชที่อยู่นอกแถวนอกกอได้ง่าย

2. ลดการใช้สารเคมี

การดำนาสามารถใช้น้ำในการควบคุมวัชพืช โดยสามารถขังน้ำได้ตั้งแต่ตอนปักดำ ทำให้ลดการใช้สารกำจัดวัชพืช และลดต้นทุนการเพาะปลูก

3. เพิ่มขนาดกอข้าว ผลผลิตเยอะ

การดำนาอย่างเป็นระเบียบ มีการเว้นช่วงระยะห่างที่เหมาะสมจะช่วยให้ต้นข้าวไม่แย่งสารอาหารกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตต้นข้าวที่กอใหญ่ ข้าวแตกกอดี ผลผลิตเยอะ
และมีคุณภาพ

การดำนา มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการดำนามีดังนี้

1.    เตรียมแปลงนา

เริ่มจากการไถพลิกหน้าดินครั้งแรกด้วยการไถพรวน เพื่อจัดการกลบวัชพืชที่จะมาแย่งธาตุอาหาร หลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์ให้ปั่นโรตารี่ เพื่อทำลายวัชพืชอีกรอบ
และย่อยดินลงเพื่อให้ข้าวเติบโตได้ดีที่สุด จากนั้นปิดด้วยการขลุบและลูบเทือกเพื่อให้สภาพดินเป็นเลน เหมาะสมกับการดำนา

การเตรียมแปลงนาดำนา

2.    เพาะต้นกล้า

ต้นกล้าที่มีคุณภาพ จะทำให้ข้าวเติบโตไว ผลผลิตเยอะ การคัดเริ่มจากการเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่ต้องสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์การงอกไม่ต่ำกว่า 80%
จากนั้นให้นำเมล็ดไปบรรจุในภาชนะ เช่น กระสอบ ถุงพร้อมแช่ในน้ำครึ่งวันถึง 1 วันเต็ม จากนั้นนำมาวางบนพื้นที่ที่ถ่ายเทอากาศดี น้ำไม่ขัง นำกระสอบป่านชุบน้ำ
มาหุ้มเมล็ดพันธุ์พร้อมรดน้ำเช้าเย็นราว ๆ 2 วัน จนเมล็ดข้าวงอกตุ่มตาขึ้นมา

 

หากเกษตรกรท่านใดไม่ได้เพาะกล้าเอง สามารถติดต่อซื้อกล้าแผ่นคุณภาพสูง จากศูนย์จำหน่ายกล้าแผ่นคูโบต้าได้โดยตรง โดยสามารถดูรายละเอียด และเช็กรายชื่อศูนย์ที่จำหน่ายกล้าแผ่นทั่วประเทศ ได้ที่ https://www.siamkubota.co.th/seedling-distribution-contact/

3.    ปักดำ

นำต้นกล้าที่เพาะไปปักลงในแปลงนา โดยให้ต้นกล้าอยู่ห่างกันพอสมควร ปักครั้งนึงจับละ 5-7 ต้น ลึกประมาณ 3-5 ซม. (ถ้าลึกเกินจะทำให้ต้นข้าวตั้งตัวช้า กอเล็ก) เพื่อเว้นระยะให้ต้นข้าวเติบโตได้เต็มที่

การเตรียมกล้าแผ่น

ภาพจาก คูโบต้า มหาสารคาม

4.    ควบคุมระดับน้ำ

การดำนา ปักดำใน 7-10 วันแรก จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำในแปลงให้เหมาะสม ประมาณ 3-5 ซม. ไม่ให้ท่วมยอดข้าว เพื่อคลุมดินป้องกันวัชพืช
และเพื่อให้ระยะแตกกอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นปล่อยให้แปลงแห้ง เพื่อให้ต้นกล้าแตกกอสูงสุด จากนั้นเมื่อกล้าเริ่มกำเนิดช่อดอกจึงเพิ่มระดับน้ำ
เป็น 10 ซม. พร้อมใส่ปุ๋ยในขณะที่น้ำแห้ง เมื่อถึงระยะออกรวง (ระยะสะสมน้ำหนัก) ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ 10 ซม. สม่ำเสมอแล้วจึงระบายน้ำออกจากแปลง
ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน

5.    ใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยตามช่วงเวลาต่าง ๆ ที่เหมาะสมของแต่ละระยะการเจริญเติบโต โดยแบ่งดังนี้

  • ครั้งที่ 1 : 7-10 วัน หลังปักดำ ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มจำนวนการแตกกอของข้าว
  • ครั้งที่ 2 : 18-24 วันก่อนออกรวง ให้ทำการใส่ปุ๋ยอีกครั้ง เพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง
  • ครั้งที่ 3 : 10-12 วันก่อนออกรวง ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

 

นอกจากนั้น ควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมกับชนิดของข้าวด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

1. ความต้องการปุ๋ยของข้าวไม่ไวแสง จะแบ่งดังนี้

  • ปุ๋ยควรมีส่วนประกอบของไนโตรเจน (N) 12 กก. / ไร่
  • ฟอสฟอรัส (P2O6) 6 กก. / ไร่
  • และโพแทสเซียม (K2O) 6 กก. / ไร่

2. ใส่ปุ๋ยโดยดูตามค่าวิเคราะห์ของดิน

 

6.    เก็บเกี่ยว

หลังจากที่ข้าวผสมเกสรและสะสมน้ำหนัก ประมาณ 20 วันให้เริ่มระบายน้ำออกเพื่อให้ต้นข้าวสุกแก่พอดีกันหลังจากนั้นอีก 8-10 วันจะเข้าสู่ ‘ระยะพลับพลึง’
เป็นระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวข้าวที่สุด สังเกตจากการที่ปลายรวงข้าวจะเหลืองสวยและกลางรวงเป็นสีตองอ่อน 

การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้ผลผลิตข้าวมีความชื้นที่เหมาะสม น้ำหนักดี และคุณภาพดี

การเก็บเกี่ยวข้าวหลังดำนา

รถดำนาคูโบต้า เสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย

การดำนาในปัจจุบัน ไม่ต้องใช้แรงงานให้เหนื่อยอีกต่อไป เพราะมีเทคโนโลยีอย่าง ‘รถดำนา’ จากคูโบต้า ซึ่งที่คูโบต้าเรามีให้คุณเลือกทั้งแบบนั่งขับและแบบเดินตาม โดยในบทความนี้ขอนำเสนอ ‘รถดำนาเดินตาม 6 แถวรุ่น KW6-M’ ที่ช่วยทุ่นแรงการดำนาทุกขั้นตอนได้มหาศาล

 

สามารถปรับระดับการใช้งานได้ตรงทุกความต้องการ

  • ปรับระยะห่างระหว่างกอได้ถึง 6 ระยะ (14, 16, 18, 21, 25 และ 28 ซม.)
  • ปรับจำนวนต้นกล้าต่อกอได้ถึง 3-8 ต้น/กอ
  • ปรับความลึกได้มากถึง 5 ระดับ (0.7-3.7 ซม.)

และช่วยให้คุณจบงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ดำนาได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด ด้วยความจุถังน้ำมัน 10 ลิตร
  • ป้อนต้นกล้าได้สม่ำเสมอ รวดเร็ว สูงสุด 0.85 ม./วินาที
  • มีระบบรักษาสมดุลรถ ทำงานได้แม้ในแปลงนาที่ไม่ราบเรียบ

 

ราคาเพียง 210,000 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

รถดำนาคูโบต้ารุ่น KW6-M

ติดต่อสั่งซื้อรถดำนาคูโบต้า

สามารถดูรายละเอียดรถดำนาคูโบต้าทั้งหมดได้ ที่นี่

 

หากคุณต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถดำนาคูโบต้าสามารถติดต่อสอบถามได้ทันทีผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

เครื่องดำนา KUBOTA

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับการดำนา

ตั้งแต่เล็กจนโต คนไทยทุกคนต่างรู้จักกับการดำนาว่าเป็นวิถีการปลูกข้าวที่อยู่คู่สังคมมาโดยตลอด เพราะนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์และควรค่าแก่การส่งต่อความรู้แก่เกษตรกรรุ่นถัดไป หากแต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน และต่อยอดการทำงาน ทำให้การดำนาสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกษตรกร
ยังคงสามารถรักษาวิถีชีวิตในการทำนาเอาไว้ให้อยู่