เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ทดลองขับ ทดลองขับ สินค้าตามการใช้งาน สินค้าตามการใช้งาน ผู้แทนจำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย คำนวนสินเชื่อ คำนวนสินเชื่อ
กลับ

สาระความรู้

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

เคล็ดไม่ลับ ปลูกข้าวพันธุ์ไวแสงในช่วงนาปีอย่างไร? ให้ได้ผลผลิตดี

ข้าวไวแสง คือข้าวที่ตั้งท้องและออกดอกในช่วงเวลากลางวันสั้นกว่ากลางคืน โดยต้องได้รับชั่วโมงแสงน้อยกว่า 12  ชั่วโมง จึงจะตั้งท้องและออกดอก  ตรงกับช่วงกลางเดือนกันยายนของประเทศไทย เป็นต้นไป ซึ่งนิยมเพาะปลูกในช่วงนาปี ประมาณเดือนพฤษภาคม – เดือนสิงหาคม และเก็บเกี่ยวในเดือน ตุลาคม-ธันวาคม โดยพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105, ข้าวเหนียว กข 6, ข้าว กข 15, ข้าวเหนียวสันป่าตอง และข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นต้น 

คุณสมบัติของข้าวไวแสงจะเห็นได้ว่า ความยาวของช่วงวัน (แสงแดด) มีผลต่อการเจริญเติบโตในทุกช่วงอายุต้นข้าว (ในกรณีของข้าวไม่ไวแสง KAS ได้มีการศึกษา พบว่าอุณหภูมิสะสมของข้าว มีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโต) โดยในช่วงที่กลางวันยาวกว่ากลางคืน อยู่ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม – 23 กันยายน ดังนั้น การปลูกข้าวไวแสงในช่วงนี้สามารถปลูกแล้วข้าวเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตาม เวลาที่เหมาะสมในการเริ่มดำนาสำหรับข้าวไวแสง คือสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม (ปลูกวันแม่)

แต่ส่วนใหญ่ชาวนาในภาคอีสาน มักจะหว่านข้าวรอน้ำฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งปัญหาที่ตามมาของการปลูกข้าวเร็วมีดังนี้

ข้าวเจริญเติบโตทางลำต้นเร็วเกินไป ทำให้ต้นข้าวสูงและมีปัญหาข้าวล้มตามมา หรืออาจจะมีปัญหาจากฝนที่มาล่าช้าทำให้การงอกของข้าวได้น้อย หรือเมื่องอกแล้วไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอในช่วงเดือนแรก ข้าวต้องการน้ำเพื่อการสร้างใบ และการแตกกอ หลังจากแตกกอสมบูรณ์ ประมาณ 1 เดือน สามารถปล่อยน้ำและทำเปียกสลับแห้งไปจนถึงประมาณ 20 วัน ก่อนข้าวตั้งท้องก็จะใส่ปุ๋ยเพื่อสร้างดอกและรวง 

ตามที่กล่าวข้างต้น ข้าวไวแสงก็จะเริ่มตั้งท้องออกรวง ในช่วงที่กลางวันสั้นกว่ากลางคืน หรือหลังวันที่ 23 กันยายนไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม เป็นช่วงสำคัญที่สุดที่ข้าวต้องการน้ำ และใส่ปุ๋ย (เคล็ดลับ คือต้องใส่ปุ๋ยตรงเวลาก่อนที่ข้าวจะออกดอก สำคัญกว่าการให้ปุ๋ยมากหรือน้อย)

และปริมาณการให้น้ำในช่วงนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ข้าวต้องการน้ำเพื่อใช้ในการผสมเกสร สร้างรวง และสะสมน้ำหนักเมล็ด เมื่อข้าวออกรวงเต็มที่แล้ว (ประมาณปลายเดือนตุลาคม ถึงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน) เข้าสู่ช่วงสุกงอมของข้าว จะต้องปล่อยให้น้ำแห้ง และจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้หลังสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป (ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าวไวแสงและอุณหภูมิในพื้นที่เพาะปลูก) เราจะพบว่าโดยปกติข้าวขาวดอกมะลิ 105 จะมีการเริ่มเก็บเกี่ยวในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงนั้นสูงกว่าที่อื่น 

โดยสรุป จะเห็นว่าปริมาณน้ำจำเป็นอย่างมากในการปลูกข้าว โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ถึงต้นเดือนสิงหาคม ที่เป็นช่วงเริ่มดำนา และช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน เพื่อการแตกกอของข้าว และช่วงปลายเดือนกันยายน ตั้งแต่ 23 กันยายน ถึงปลายตุลาคม สามารถทำเปียกสลับ-แห้งได้ เพื่อให้ข้าวสร้างดอกรวงและน้ำหนักเมล็ด และประมาณสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่ข้าวไม่ต้องการน้ำแล้ว เนื่องจากใกล้เข้าเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ซึ่งถือว่าเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้วนั่นเอง