เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ทดลองขับ ทดลองขับ สินค้าตามการใช้งาน สินค้าตามการใช้งาน ผู้แทนจำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย คำนวนสินเชื่อ คำนวนสินเชื่อ
กลับ

สาระความรู้

พ.ร.บ.คืออะไร จำเป็นมั้ยกับแทรกเตอร์

พ.ร.บ.คืออะไร จำเป็นมั้ยกับแทรกเตอร์

พ.ร.บ.คืออะไร จำเป็นมั้ยกับแทรกเตอร์

สวัสดีครับพี่น้องชาวเกษตรกรทุกท่าน เหลืออีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าฤดูเก็บเกี่ยวกันแล้ว หวังว่าปีนี้ผลผลิตของทุกท่านจะมีคุณภาพดี และขายได้ราคาดีๆกันนะครับ วันนี้ผมก็ยังมีเนื้อหาสำคัญไม่แพ้ครั้งที่แล้วมานำเสนอครับ นั่นก็คือ พ.ร.บ. นั่นเอง แล้ว พ.ร.บ. คืออะไร และความสำคัญของการทำประกันภัย พ.ร.บ. (ภาคบังคับ) คืออะไร เราไปทำความเข้าใจกันเลยครับ

พระราชบัญญัติ ( พ.ร.บ. )  คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  พ.ศ. 2535  เป็นกฎหมายที่กำหนดให้รถทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกต้องจัดให้มีประกันภัยอย่างน้อยที่สุด  คือการทำประกันภัยภายใต้ข้อบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลผู้ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถได้อย่างทันท่วงที โดยที่ผู้ประสบภัยก็คือ ผู้ซึ่งได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยเนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง ซึ่งหมายรวมถึง คนเดินถนน ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร

 

ผลกระทบจากการไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ.

กรณีที่เราไม่มีประกันภัย พ.ร.บ. หากเกิดอุบัติเหตุและก่อให้เกิดความเสียหายกับบุคคลภายนอก ผู้ครอบครองรถต้องเป็นผู้ชำระค่าเสียหายให้บุคคลภายนอก และเสียค่าปรับที่เกี่ยวข้องกับการไม่ทำประกันภัย พ.ร.บ. ครับ และยังไม่สามารถต่อภาษีรถประจำปีได้ด้วย แต่ถ้าเราทำ พ.ร.บ. ไว้ เราก็ไม่จำเป็นต้องชำระค่าเสียหายข้างต้น โดยบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายข้างต้นกับผู้เสียหายแทนเราครับ และถึงแม้ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด พ.ร.บ. ก็ยังคุ้มครองเราในกรณีที่มีค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ หรือถ้าถึงขั้นเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร ก็จะมีค่าชดเชยให้อีกด้วยครับ โดยสามารถศึกษารายละเอียดได้จากตารางด้านล่างครับ

 

ความคุ้มครองประกันภัย พ.ร.บ. เกิดเหตุตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 

– เสียชีวิต, ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, สูญเสียมือ แขน เท้า ขา ตาบอด 2 อย่าง / 2 ข้างขึ้นไป ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาท

– ทุพพลภาพอย่างถาวร (ไม่สามารถประกอบหน้าที่การงานใด ๆ ในอาชีพประจำได้โดยสิ้นเชิงตลอดไป) ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 300,000 บาท

– หูหนวก, เป็นใบ้ / สูญเสียความสามารถในการพูด, ลิ้นขาด, สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ / ความสามารถ, จิตพิการติดตัว, สูญเสียอวัยวะอื่นใดที่ส่งผลให้การใช้ชีวิตผิดปกติ, สูญเสีย มือ แขน เท้า ขา ตาบอด 1 ข้าง ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 250,000 บาท

– นิ้วขาด (มือ / เท้า) 1 ข้อขึ้นไป ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 200,000 บาท

– บาดเจ็บ / สูญเสียอนามัย, ค่าเสียหายอย่างอื่น ที่สามารถร้องเรียนได้ตามมูลละเมิด ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 80,000 บาท

– เงินชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน สำหรับผู้ถูกกระทำละเมิด วันละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน ได้รับการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 4,000 บาท       

หมายเหตุ : ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดหรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายจะได้รับเฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท และกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต 35,000 บาท รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ. มีความสำคัญมากนะครับ ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ขึ้นมา ซึ่งค่าใช้จ่ายในการทำ พ.ร.บ สำหรับรถที่ใช้ในการเกษตรก็เพียงแค่ 97 บาทต่อปีเองครับ แต่อาจจะต้องมีเอกสารยืนยันการใช้งานทางด้านเกษตรกรรม เช่น สำเนาที่ดินที่มีขนาดมากกว่า 20 ไร่ขึ้นไป หรืออื่นๆ ซึ่งแล้วแต่ทางกรมการขนส่ง และบริษัทประกันภัยต้องการครับ ดังนั้นอย่าลืมทำ พ.ร.บ. ก่อนไปต่อภาษีทุกๆ ปีนะครับ

Related article