สาระความรู้
สายพานหย่อน แก้ยังไง? วิธีปรับความตึงสายพาน
เครื่องยนต์ดีเซล
สายพานหย่อน แก้ยังไง? วิธีปรับความตึงสายพาน
เครื่องยนต์ดีเซล
สายพานหย่อน อย่ามองข้าม! ปัญหาที่เล็กน้อยแต่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อเครื่องยนต์ ส่งผลให้เครื่องยนต์ทำงานไม่เต็มที่ ก่อให้เกิดผลเสียทั้งการทำงานและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน ดังนั้น KUBOTA จะมาอธิบายถึงปัญหาสายพานหย่อน รวมไปถึงวิธีตรวจเช็กและการแก้ปัญหาให้ถูกต้องเหมาะสม จะทำอย่างไร
ไปดูกันเลย
สายพานหย่อน ข้อเสีย
4 ข้อเสียของสายพานหย่อน มีดังนี้
- เครื่องยนต์ร้อนจัด ขณะใช้งาน
สายพานคือชิ้นส่วนที่คอยส่งกำลังงานให้พัดลมระบายความร้อนทำงาน เมื่อสายพานหย่อนลงกำลังงานที่ส่งไปให้พัดลมก็น้อยลง ระบบระบายความร้อน
ของเครื่องยนต์จึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เครื่องยนต์มีอุณหภูมิสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะใช้งาน
- มีเสียงดังรบกวน
สายพานหย่อน จะทำให้เกิดเสียงดัง เนื่องมาจากหน้าสัมผัสของตัวสายพานไม่สามารถยึดเกาะกับลูกรอก ทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น เมื่อมีการทำงานของเครื่องยนต์ ทำให้สายพานที่หย่อนเกิดการหมุนฟรีหรือกระพือ ไปกระทบกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่องยนต์ทำให้มีเสียงดังเกิดขึ้น
- สายพานสึกหรอไวขึ้น
สายพานหย่อน จะทำให้เกิดการหมุนฟรีหรือกระพือขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สายพานที่หย่อนไปกระทบกับชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในตัวเครื่อง เร่งให้เกิดการสึกหรอ
ที่มากกว่าปกติ ทำให้อายุการใช้งานของสายพานลดลงอย่างรวดเร็ว
- อาจเกิดอุบัติเหตุขณะใช้งานได้
การใช้เครื่องยนต์ ที่สายพานหย่อนอาจทำให้สายพานเกิดการชำรุดและฉีกขาดอย่างฉับพลัน ทำให้เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติหรือเกิดการชะงัก อาจส่งผล
ให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้งานที่ไม่ทันระมัดระวังตัว
วิธีตรวจเช็กว่าสายพานหย่อนหรือไม่
สายพานหย่อนสามารถตรวจเช็กด้วยตัวเองง่าย ๆ โดยใช้นิ้วกดลงไปตรงกึ่งกลางของสายพาน เพื่อเช็กว่าสายพานหย่อนหรือตึงมากเกินกว่าค่ามาตรฐาน
ที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าสายพานหย่อนหรือตึงมากเกินไปให้ปรับสายพานใหม่ทันที โดยเครื่องยนต์ดีเซล KUBOTA ในแต่ละรุ่นจะมีค่ามาตรฐานความหย่อนตึงดังนี้
- รุ่น ZT100 ZT110 ZT120 ZT140 ZT155 มีค่ามาตรฐานความตึงหย่อนอยู่ระหว่าง 11-15 มิลลิเมตร
- รุ่น ZT180 มีค่ามาตรฐานความตึงหย่อนอยู่ระหว่าง 18-22 มิลลิเมตร
ปรับตั้งสายพานหย่อน
สายพานหย่อน สามารถทำตามได้ดังขั้นตอนต่อไปนี้ หรือเข้าไปศึกษาเพิ่มได้ ที่นี่
- เตรียมอุปกรณ์สำหรับปรับตั้งสายพาน ประกอบไปด้วย แว่นตานิรภัย ถุงมือ และประแจ เพื่อให้ทำงานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีความปลอดภัยมากขึ้น
- ให้คลายโบลท์ยึดขาลูกรอกสายพานให้หลวม
- หมุนน็อตหางปลา เพื่อปรับตั้งความตึงหย่อนสายพานให้มีค่าตามมาตรฐานที่กำหนด
- ขันโบลท์ยึดขาลูกรอกสายพานให้แน่น
สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับปัญหา สายพานหย่อน
สายพานเป็นดั่งปัจจัยหลักของเครื่องยนต์ ที่จะคอยส่งกำลังไปยังชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในตัวเครื่อง หากสายพานหย่อนจะทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถทำงานได้
เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กและปรับตั้งให้สายพานอยู่ในค่ามาตรฐานทุกครั้ง เพื่อให้ใช้เครื่องยนต์ได้เต็มสมรรถนะ หากสนใจอยากศึกษา
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ดีเซลของ Siam Kubota คลิกเลย