เข้าสู่ระบบ เข้าสู่ระบบ ทดลองขับ ทดลองขับ สินค้าตามการใช้งาน สินค้าตามการใช้งาน ผู้แทนจำหน่าย ผู้แทนจำหน่าย คำนวนสินเชื่อ คำนวนสินเชื่อ
กลับ

สาระความรู้

การดำนา คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญ
กับชีวิตเกษตกรไทย

การดำนา คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญ <BR> กับชีวิตเกษตกรไทย

การดำนา คืออะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ทำไมจึงสำคัญ
กับชีวิตเกษตกรไทย

การดำนา นับว่าเป็น “วิถีเกษตร” ที่อยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่อดีตกาล เพราะการดำนาไม่เพียงแต่เป็นการปลูกข้าวที่ให้ผลผลิตสูง แต่ยังนับว่าเป็นวัฒนธรรม
และองค์ความรู้ที่สำคัญของเกษตรกรไทยที่ยึดถือส่งต่อกันมาแทบทุกยุค บทความนี้ KUBOTA จะมาอธิบายถึงการดำนา จะมีอะไรที่ต้องรู้บ้าง มาดูกันเลย

การดำนา คืออะไร

การทำนาดำ คือการเพาะเมล็ดข้าวในแปลง (หรือบริเวณเพาะปลูกอื่น ๆ) ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วนำไปปลูกในแปลงนาที่ได้ไถคราดเอาไว้ พร้อมดูแลรักษาให้เหมาะสม
จนงอกและกลายเป็นต้นข้าวพร้อมเก็บเกี่ยว การดำนา สามารถทำได้ 2 รูปแบบด้วยกัน คือการดำนาแบบใช้แรงงานคนซึ่งต้องใช้แรงงานเกษตรกรในการดำเนินงานค่อนข้างมาก และการดำนาแบบใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ที่จะช่วยลดระยะเวลาการทำงาน และประหยัดแรงได้มากกว่าแบบใช้แรงงานคน

การดำนา

ภาพจาก kasetkaoklai

การดำนา มีประโยชน์อย่างไร

การดำนามีประโยชน์หลัก ๆ 3 ข้อดังต่อไปนี้

1. ลดปริมาณวัชพืช

การดำนาจะช่วยลดปริมาณวัชพืชและข้าววัชพืช หรือข้าวดีดข้าวเด้ง ได้มากกว่าวิธีอื่น เช่น การหว่าน เพราะจะใช้กล้าของต้นข้าวที่มีการเจริญเติบโตแล้วนำไปปลูก
ในแปลงนา ทำให้วัชพืชเติบโตไม่ทันต้นข้าว รวมถึงสามารถคัดแยก และกำจัดข้าววัชพืชที่อยู่นอกแถวนอกกอได้ง่าย

2. ลดการใช้สารเคมี

การดำนาสามารถใช้น้ำในการควบคุมวัชพืช โดยสามารถขังน้ำได้ตั้งแต่ตอนปักดำ ทำให้ลดการใช้สารกำจัดวัชพืช และลดต้นทุนการเพาะปลูก

3. เพิ่มขนาดกอข้าว ผลผลิตเยอะ

การดำนาอย่างเป็นระเบียบ มีการเว้นช่วงระยะห่างที่เหมาะสมจะช่วยให้ต้นข้าวไม่แย่งสารอาหารกัน เพื่อให้ได้ผลผลิตต้นข้าวที่กอใหญ่ ข้าวแตกกอดี ผลผลิตเยอะ
และมีคุณภาพ

การดำนา มีขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนการดำนามีดังนี้

1.    เตรียมแปลงนา

เริ่มจากการไถพลิกหน้าดินครั้งแรกด้วยการไถพรวน เพื่อจัดการกลบวัชพืชที่จะมาแย่งธาตุอาหาร หลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์ให้ปั่นโรตารี่ เพื่อทำลายวัชพืชอีกรอบ
และย่อยดินลงเพื่อให้ข้าวเติบโตได้ดีที่สุด จากนั้นปิดด้วยการขลุบและลูบเทือกเพื่อให้สภาพดินเป็นเลน เหมาะสมกับการดำนา

การเตรียมแปลงนาดำนา

2.    เพาะต้นกล้า

ต้นกล้าที่มีคุณภาพ จะทำให้ข้าวเติบโตไว ผลผลิตเยอะ การคัดเริ่มจากการเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่ต้องสะอาด ไม่มีสิ่งเจือปน มีเปอร์เซ็นต์การงอกไม่ต่ำกว่า 80%
จากนั้นให้นำเมล็ดไปบรรจุในภาชนะ เช่น กระสอบ ถุงพร้อมแช่ในน้ำครึ่งวันถึง 1 วันเต็ม จากนั้นนำมาวางบนพื้นที่ที่ถ่ายเทอากาศดี น้ำไม่ขัง นำกระสอบป่านชุบน้ำ
มาหุ้มเมล็ดพันธุ์พร้อมรดน้ำเช้าเย็นราว ๆ 2 วัน จนเมล็ดข้าวงอกตุ่มตาขึ้นมา

 

หากเกษตรกรท่านใดไม่ได้เพาะกล้าเอง สามารถติดต่อซื้อกล้าแผ่นคุณภาพสูง จากศูนย์จำหน่ายกล้าแผ่นคูโบต้าได้โดยตรง โดยสามารถดูรายละเอียด และเช็กรายชื่อศูนย์ที่จำหน่ายกล้าแผ่นทั่วประเทศ ได้ที่ https://www.siamkubota.co.th/seedling-distribution-contact/

3.    ปักดำ

นำต้นกล้าที่เพาะไปปักลงในแปลงนา โดยให้ต้นกล้าอยู่ห่างกันพอสมควร ปักครั้งนึงจับละ 5-7 ต้น ลึกประมาณ 3-5 ซม. (ถ้าลึกเกินจะทำให้ต้นข้าวตั้งตัวช้า กอเล็ก) เพื่อเว้นระยะให้ต้นข้าวเติบโตได้เต็มที่

การเตรียมกล้าแผ่น

ภาพจาก คูโบต้า มหาสารคาม

4.    ควบคุมระดับน้ำ

การดำนา ปักดำใน 7-10 วันแรก จำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำในแปลงให้เหมาะสม ประมาณ 3-5 ซม. ไม่ให้ท่วมยอดข้าว เพื่อคลุมดินป้องกันวัชพืช
และเพื่อให้ระยะแตกกอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จากนั้นปล่อยให้แปลงแห้ง เพื่อให้ต้นกล้าแตกกอสูงสุด จากนั้นเมื่อกล้าเริ่มกำเนิดช่อดอกจึงเพิ่มระดับน้ำ
เป็น 10 ซม. พร้อมใส่ปุ๋ยในขณะที่น้ำแห้ง เมื่อถึงระยะออกรวง (ระยะสะสมน้ำหนัก) ควรรักษาระดับน้ำให้อยู่ที่ 10 ซม. สม่ำเสมอแล้วจึงระบายน้ำออกจากแปลง
ก่อนเก็บเกี่ยว 10-15 วัน

5.    ใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยตามช่วงเวลาต่าง ๆ ที่เหมาะสมของแต่ละระยะการเจริญเติบโต โดยแบ่งดังนี้

  • ครั้งที่ 1 : 7-10 วัน หลังปักดำ ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มจำนวนการแตกกอของข้าว
  • ครั้งที่ 2 : 18-24 วันก่อนออกรวง ให้ทำการใส่ปุ๋ยอีกครั้ง เพื่อเพิ่มจำนวนเมล็ดต่อรวง
  • ครั้งที่ 3 : 10-12 วันก่อนออกรวง ควรใส่ปุ๋ยอีกครั้งเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต

 

นอกจากนั้น ควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสมกับชนิดของข้าวด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

1. ความต้องการปุ๋ยของข้าวไม่ไวแสง จะแบ่งดังนี้

  • ปุ๋ยควรมีส่วนประกอบของไนโตรเจน (N) 12 กก. / ไร่
  • ฟอสฟอรัส (P2O6) 6 กก. / ไร่
  • และโพแทสเซียม (K2O) 6 กก. / ไร่

2. ใส่ปุ๋ยโดยดูตามค่าวิเคราะห์ของดิน

 

6.    เก็บเกี่ยว

หลังจากที่ข้าวผสมเกสรและสะสมน้ำหนัก ประมาณ 20 วันให้เริ่มระบายน้ำออกเพื่อให้ต้นข้าวสุกแก่พอดีกันหลังจากนั้นอีก 8-10 วันจะเข้าสู่ ‘ระยะพลับพลึง’
เป็นระยะที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวข้าวที่สุด สังเกตจากการที่ปลายรวงข้าวจะเหลืองสวยและกลางรวงเป็นสีตองอ่อน 

การเก็บเกี่ยวในระยะนี้จะได้ผลผลิตข้าวมีความชื้นที่เหมาะสม น้ำหนักดี และคุณภาพดี

การเก็บเกี่ยวข้าวหลังดำนา

รถดำนาคูโบต้า เสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย

การดำนาในปัจจุบัน ไม่ต้องใช้แรงงานให้เหนื่อยอีกต่อไป เพราะมีเทคโนโลยีอย่าง ‘รถดำนา’ จากคูโบต้า ซึ่งที่คูโบต้าเรามีให้คุณเลือกทั้งแบบนั่งขับและแบบเดินตาม โดยในบทความนี้ขอนำเสนอ ‘รถดำนาเดินตาม 6 แถวรุ่น KW6-M’ ที่ช่วยทุ่นแรงการดำนาทุกขั้นตอนได้มหาศาล

 

สามารถปรับระดับการใช้งานได้ตรงทุกความต้องการ

  • ปรับระยะห่างระหว่างกอได้ถึง 6 ระยะ (14, 16, 18, 21, 25 และ 28 ซม.)
  • ปรับจำนวนต้นกล้าต่อกอได้ถึง 3-8 ต้น/กอ
  • ปรับความลึกได้มากถึง 5 ระดับ (0.7-3.7 ซม.)

และช่วยให้คุณจบงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • ดำนาได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด ด้วยความจุถังน้ำมัน 10 ลิตร
  • ป้อนต้นกล้าได้สม่ำเสมอ รวดเร็ว สูงสุด 0.85 ม./วินาที
  • มีระบบรักษาสมดุลรถ ทำงานได้แม้ในแปลงนาที่ไม่ราบเรียบ

 

ราคาเพียง 210,000 บาท สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่

รถดำนาคูโบต้ารุ่น KW6-M

ติดต่อสั่งซื้อรถดำนาคูโบต้า

สามารถดูรายละเอียดรถดำนาคูโบต้าทั้งหมดได้ ที่นี่

 

หากคุณต้องการสั่งซื้อ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรถดำนาคูโบต้าสามารถติดต่อสอบถามได้ทันทีผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

เครื่องดำนา KUBOTA

สรุปทั้งหมด เกี่ยวกับการดำนา

ตั้งแต่เล็กจนโต คนไทยทุกคนต่างรู้จักกับการดำนาว่าเป็นวิถีการปลูกข้าวที่อยู่คู่สังคมมาโดยตลอด เพราะนับว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์และควรค่าแก่การส่งต่อความรู้แก่เกษตรกรรุ่นถัดไป หากแต่ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาผสมผสาน และต่อยอดการทำงาน ทำให้การดำนาสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกษตรกร
ยังคงสามารถรักษาวิถีชีวิตในการทำนาเอาไว้ให้อยู่